สัปดาห์ที่ 1
1. ศึกษาข้อมูล
1.1 HARDEWARE : MCS-51 (Flash Microconntroller)
1.2 SENSOR : Optical Encoder
1.3 DATA : LCD
1.4 INTERFACE : Timer-Couter (T/C)
1.5 SOFTWARE : C language for MCS 51
1.6 Interrupt
2. จัดหาอุปกรณ์
สัปดาห์ที่ 2
1. ต่อวงจร และทดสอบด้านโปรแกรมเบื้องต้นว่าอุปกรณ์ที่นำมาใช้มีประสิทธิภาพหรือไม่ เพื่อจะได้แก้ไข และนำอุปกรณ์ไปใช้งานต่อไป
2. เริ่มพัฒนาโปรแกรม (กลุ่มผมคิดว่า ในสัปดาห์จะเริ่มทำ แล้วจะพยายามให้เสร็จในสัปดาห์ที่ 3)
สัปดาห์ที่ 3
1. พัฒนาโปรแกรมต่อให้เสร็จ
สัปดาห์ที่ 4
1. calibration ตรวจสอบว่าค่าที่ได้คลาดเคลื่อนไปเท่าไร แล้วนำไปสู่การแก้ไข
2. หาเงื่อนไขที่มีผลต่อปัจจัยที่ทำให้ค่าคลาดเคลื่อน เช่น ระยะห่าง จากเครื่องวัดความเร็วลม ถึงช่องแอร์ อุณหภูมิภายในห้องที่ติดตั้งแอร์
____________________________________________________
1.การคิดหน่วย CFM
Air flow rate cfm = ft3/min
Q = V x A
Q = air flow rate = cfm = ft3/min.
V = air velocity = ft/min. average air velocity
A = Closs section area = ft x ft = ft2
sample
for supply air grille size 48"x8"
measure air velocity using scale in ft/min.
after measure get = 800 ft/min
Q = V x A
Q = 800 x 48 x 8 x 0.75 / 144 = 1600 cfm
assume net cross section area = 0.75 of total area 144 in2 = 1 ft2
***ตัวเลข 0.75 เป็นค่าประมาณการเกิดจากหัวจ่าย มีใบบังคับทิศทางลม ตัวใบนี้กินเนื้อที่ไปบางส่วนของหัวจ่ายจึงยกตัวอย่างว่า 25% ของพื้นที่รวมของหัวจ่าย
พื้นที่ที่ลมออกจริงเท่ากับ 100%-25% = 0.75 ดังนั้นเมื่อเป็นหัวจ่ายจึงมี 0.75 แต่ถ้าเป็นท่อลม ก็ไม่ต้องมี 0.75 พื้นที่ที่ลมออกจริงของท่ลม เท่ากับ 100% = 1
_____________________________________________
2.HARDEWARE : MCS-51 (Flash Microconntroller) ศึกษาจาก
- หนังสือ MCS-51 Microcontroller Theory & Practical Approach : Atmel AT89C5X
เรียนรู้ และปฏิบัติการไมโครคอนโทรลเลอร์ MCS-51 แบบแฟลช ISBN 974-87935-5-9
เรียบเรียงโดย ชัยวัฒน์ ลิ้มพรจิตรวิไล และ วรพจน์ กรแก้ววัฒนกุล
ดำเนินการจัดพิมพ์และจัดจำหน่ายโดย บริษัท อินโนเวตีฟ เอ็กเพอริเมนต์ จำกัด
เลขที่ 3133/53 ซ.อุบลศรี (สุขุมวิท 101/2) ถ.สุขุมวิท แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ
- รวมบทความเว็บไซต์อีทีที พร้อม ET CD ROM Vol.2
บทความ CPU MCS51, AVR,PIC,68HC11…
โดย อ.ศภชัย บุศราทิจ และ ทีมงาน อีทีที บริษัท อีทีที จำกัด
- คู่มือภาษาซีสำหรับไมโครคอนโทรลเลอร์ MCS 51
โดย อ.ศุภชัย บุศราทิจ บริษัท อีทีที จำกัด
- คู่มือไอซี ไมโครโปรเซสเซอร์ MCS-51
- Optoelectronics Data Book 1983-84 Infrared, imaging, and visible products
Texas Instruments
______________________________________________________
3.SENSOR : Optical Encoder
OPTICAL ENCODER
Incremental encoder
incremental encoder ทำงานโดยอาศัยหลักการอาศัยหลักการออพติคอล บ่อยครั้งจึงถูกเรียกตามหลักการว่า Optical encoder หรือบางกรณีก็จะถูกเรียกว่า digital encoder ซึ่งมีลักษณะดังรูป
โครงสร้างจะประกอบด้วยตัวกำเนิดแสง,ตัวจับแสงซึ่งถูกคั่นกลางด้วยแผ่นจานกลมๆ ที่มีการทำรูเจาะไว้รอบๆแผ่น ( จำนวนรูจะขึ้นอยู่กับความละเอียดของ incremental encoder ) และหน้ากากแยกช่องของสัญญาณพัลส์ A ,Bและ Z สัญญาณพัลส์ที่ได้จาก เอนโคดเดอร์ชนิดนี้ประกอบด้วย 3 แทรค (tracks) คือ A ,B และ Z ดังรูป พัลส์ที่เกิดจาก แทรค A และ B จะเกิดการเหลือมกันมีความต่างเฟสกัน 90 องศา เพื่อทำหน้าที่รายงานผลของความเร็วและทิศทางการหมุนของมอเตอร์ให้คอนโทรลเลอร์ ดังนี้ กรณีพัลส์ A เกิดขึ้นก่อน B คอนโทรลเลอร์จะรับรู้ว่ามอเตอร์กำลังหมุนด้วยทิศทางตามเข็มนาฬิกา แต่ถ้าหากพัลส์ B เกิดขึ้นก่อน A คอนโทรลเลอร์จะรับรู้ว่ามอเตอร์กำลังหมุนด้วยทิศทางทวนเข็มนาฬิกา ส่วนแทรค Z หรือพัลส์อ้างอิง จะเกิดขึ้น1พัลส์ในการหมุน 1 รอบ ทำหน้าใช้อ้างอิงตำแหน่งของโรเตอร์
incremental encoder โดยทั่วไปจะไม่นิยมใช้กับระบบเซอร์โวที่มีการควบคุมตำแหน่ง เนื่องจากไม่สามารถจำแหน่งเดิมได้กรณีที่มีการปิดเครื่องหรือไฟดับ ซึ่งจะต้องทำการหาจุดอ้างอิงใหม่ทุกครั้ง
______________________________________________________
4.การขยายสัญญาณพัลส์
เนื่องจากเนื้อหาในส่วนของ การขยายสัญญาณพัลส์ มีเนื้อหาที่เยอะมาก จึงไม่สามารถนำข้อมูลทั้งหมด มาลงในหน้าบล็อกนี้ได้
กลุ่มกระผมจึงจัดทำเป็นลิ้งค์ เพื่อเชื่อมโยงไปยังเนื้อหาทั้งหมด ของการขยายสัญญาณพัลส์
จึงขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย
http://dk.coe.psu.ac.th/assign/gyro/gyrotest5.htm
5.การอินเตอร์รัพท์
การอินเตอร์รัพท์ คือ การติดต่อเพื่อรับส่งข้อมูลกันระหว่างอุปกรณ์ภายนอกต่างๆของคอมพิวเตอร์ เช่น จอภาพ, แป้นพิมพ์, เครื่องพิมพ์, เม้าส์ และอื่ นๆ กับ ไมโครโปรเซสเซอร์ ซึ่งจะมีการติดต่อกันอยู่เสมอๆ การที่จะทำให้ระบบมีประสิทธิภาพมากที่สุดนั้นก็คือ การมีการติด ต่อหรือการอินเทอร์รัพท์ที่ดีนั่นเอง
การอินเตอร์รัพท์
ในระบบที่มีอุปกรณ์ต่างๆหลายชนิดนั้น บางครั้งเราอาจจะสงสัยว่าในขณะที่นาฬิกาของเครื่องเดินไปได้ตลอดเวลาพร้อมๆกับที่เราใช้ง านอย่างอื่นโดยที่เวลาเดินไปอย่างไม่ผิดพลาด หรือว่าเครื่องได้อ่านแผ่นดิสก์อยู่ ในขณะเดียวกับที่เราพิมพ์ข้อมูลผ่านทางแป้นพิมพ์ได้ ซึ่งเสมือนว่าเครื่องสามารถทํางานได้หลายๆอย่างในเวลาเดียวกัน ซึ่งการที่จะทําได้เช่นนี้นั้น ซีพียูจำเป็นต้องมีวิธีการติดต่อกับอุปกรณ์ภายนอกต่างๆอย่าง มีประสิทธิภาพ
วิธีหนึ่งก็คือ ให้ซีพียูใช้เวลาส่วนใหญ่ในการทำโปรแกรมหลัก และหันมาสนใจอุปกรณ์ภายนอกก็ต่อเมื่ออุปกรณ์ภายนอกส่งสัญญาณ เข้ามาขัดจังหวะการทำงานที่ซีพียูทำอยู่ในขณะนั้น ซึ่งซีพียูมีสิทธิที่จะยอมรับหรือปฏิเสธการขัดจังหวะนั้นก็ไ ด้ อาจเปรียบได้ว่าเรากําลังเขียนรายงานอยู่ แล้วมีเสียงโทรศัพท์ดังขึ้นมา เราก็จะต้องตัดสินใจว่าสิ่งใดมีความสําคัญมากกว่ากัน หา กคิดว่าโทรศัพท์สําคัญกว่า ก็หยุดการ เขียนรายงานและไปรับโทรศัพท์ก่อน แล้วจึงกลับมาเขียนรายงานต่อ ดังนั้นในลักษณะนี้ หากว่าซีพียูยอมรับการขัดจังหวะนั้น ซีพียู จะหยุดจากการทำงานในโปรแกรมหลักและไปทำงานในโปรแกรมย่อยซึ่งอุปกรณ์นั้นๆร้องขอมา เมื่อเสร็จแล้ว ซีพียูก็จะกลับมาทำโปรแกรมเดิมที่ หยุดไปต่อ ไป ลักษณะเช่นนี้เรียกว่า การอินเตอร์รัพท์ (Interrupt)
ประเภทของการอินเตอร์รัพท์
การอินเตอร์รัพท์สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆดังนี้คือ
- Non-maskable Interrupt (NMI) คือ การอินเตอร์รัพท์ที่ซีพียูไม่สามารถปฏิเสธได้ หากมีการอินเตอร์รัพท์ประเภทนี้มา ซีพียูต้องหยุดการทำงานของโปรแกรมที่ทำอยู่ในขณะนั้นโดยไ ม่มีข้อแม้ และเปลี่ยนไปทำงานให้การอุปกรณ์ที่มีการส่งอินเตอร์รัพท์เข้ามา
- Maskable Interrupt (INT) คือ การอินเตอร์รัพท์ที่ซีพียูสามารถปฏิเสธได้ โดยปรกติ ซีพียูจะมีการกำหนดว่าในขณะนั้น ซีพียูจะอยู่ในภาวะ Disable Interrupt (DI) หรือ Enable (EI) ถ้าหากว่า ในขณะที่มีการอินเตอร์รัพท์เข้ามานั้น ซีพียูอยู่ในภาวะ Disable Interrupt แล้ว การอินเตอร์รัพท์นั้นก็จ ะได้รับการปฏิเสธไป แต่ถ้าเป็น Enable Interrupt การอินเตอร์รัพท์นั้นก็จะได้รับการสนองตอบ
นอกจากนี้ การอินเตอร์รัพท์ยังมีการจัดลำดับความสำคํญของแต่ละอินเตอร์รัพท์ที่เข้ามาอีกด้วย ดังจะกล่าวในหัวข้อถัดไปนี้
การจัดลําดับความสําคัญของการอินเตอร์รัพท์
ถึงแม้ว่าจะมีวงจรจากอุปกรณ์ภายนอกมากมายที่สามารถสร้างและส่งส่งสัญญาณอินเตอร์รัพท์มาให้ซีพียูได้ แต่ซีพียูก็ยังสามารถแยกแยะได้ว่าวงจรใดเป็นผู้สร้างสัญญาณอินเตอร์รัพท์นั้นๆขึ้นมาได้ เนื่องจากแต่ละวงจรจะให้อินเตอร์รัพท์เวกเตอร์ที่ต่างกัน ทําให้ซีพียูกระ โดดไปทํางานในอินเตอร์รัพท์เซอร์วิสรูทีนต่างๆกันโดนที่แต่ละโปรแกรมก็ถูกเขียนให้ทํางานบริการแก่อุปกรณ์นั้นๆ
แม้ว่าซีพียูจะสามารถแยกแยะได้ว่าอุปกรณ์ใดเป็นผู้ส่งสัญญาณอินเตอร์รัพท์แล้วก็ตาม แต่ในทางปฏิบัติแล้ว เมื่อมีอุปกรณ์มากกว่าหนึ่งอุปก รณ์ต้องการจะติดต่อกับซีพียูพร้อมๆกัน ปัญหาว่าซีพียูจะติดต่อกับอุปกรณ์ใดก่อนก็จะเกิดขึ้น จึงต้องมีการจัดให้ความสําคัญต่ออุปกรณ ์ไม่เท่ากัน (Priority Arbitration)
อุปกรณ์ภายนอกจะไม่ได้ต่อสัญญาณอินเตอร์รัพท์ของตนเข้าโดยตรงกับซีพียู แต่จะต่อผ่านวงจรจัดลําดับความสําคัญ ถ้ามีอุปกรณ์หลายตัวต้องการ ที่จะส่งสัญญาณอินเตอร์รัพท์ (INT) เข้าซีพียูพร้อมๆกัน วงจรจัดลําดับความสําคัญจะส่งผ่านสัญญาณอินเตอร์รัพท์และ Interrupt Vector ของอุปกรณ์ที่มีความสําคัญ (Priority) สูงสุด<>ไปยังซีพียู ซีพียูจะตอบรับและให้บริการอุปกรณ์ที่ส่งอินเตอร์รัพท์นั้นมาให้เสร็จสิ้นเสียก่อน แลัวจึงเริ่มให้ความสนใจแก่อินเตอร์รัพท์ของอุปกรณ์ที่มีความสําคัญรองลงไปตามลําดับ
การจัดระบบอินเตอร์รัพท์ไม่ว่าจะเป็นกลไลการกระโดด, การตอบรับ หรือกลไลการเก็บสถานะ การจัดระบบดังกล่าวนี้ของซีพียูก็จะแตกต่างกันออกไปแล้วแต่บริษัทผู้ผลิตจะออกแบบตัวไมโครโปรเซสเซอร์มาเช่นไร ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของงานที่จะนําซีพียูตัวนั้น ๆ ไปใช้
การควบคุมอินเตอร์รัพท์
การควบคุมการอินเตอร์รัพท์คือการควบคุมซีพียูว่าจะให้ตอบรับอินเตอร์รัพท์หรือไม่ เนื่องจากในบางขณะที่ซีพียูกําลังทำงานที่ต่อเนื่องอยู่ เช่น โปรแกรมนาฬิกา ซึ่งหากมีการอินเตอร์รัพท์เข้ามาก็จะก่อให้เกิดความผิดพลาดของนาฬิกา ดังนั้นจึงต้องมีการบังคับไม่ให้มีการสนองตอบต่อการร้องขออินเตอร์รัพท์เข้ามา เมื่อโปรแกรมนาฬิกาเสร็จแล้ว จึงอนุญาตให้มีการตอบสนองได้
คําสั่งที่ใช้ในการเซ็ตหรือรีเซ็ตแฟล็กอินเตอร์รัพท์นั้นเรียกว่า คําสั่งอินเตอร์รัพท์ ซึ่งได้แก่
DI ซึ่งย่อมาจาก Disable Interrupt เป็นการเซ็ตให้ซีพียูอยู่ในภาวะไม่ตอบสนอง
EI ซึ่งย่อมาจาก Enable Interrupt ใช้เพื่อรีเซ็ตแฟล็กให้อยู่ในภาวะตอบสนอง
หลักการทำงานของอินเตอร์รัพท์
ในไมโครโปรเซสเซอร์แทบจะทุกประเภทนั้น การอินเตอร์รัพท์จะเกิดขึ้นโดยอุปกรณ์อินพุทเอาท์พุทได้ส่งสัญญาณอิเลกทรอนิกส์เพื่อไปเปลี่ยนระดับสัญญาณที่ขาใด<>ขาหนึ่งของไมโครโปรเซสเซอร์ ซึ่งขานั้นจะถูกเรียกว่า ขาอินเตอร์รัพท์ (Interrupt Pin) เพื่อเป็นการแจ้งแก่ไมโครโปรเซสเซอร์ถึงการอินเตอร์รัพท์ โดยจะมีขั้นตอนต่างๆดังนี้
- วงจรภายนอกส่งสัญญาณอินเตอร์รัพท์มายังซีพียู
- หากซีพียูอยู่ในสภาวะ Enable Interrupt (EI) ก็จะตอบรับการอินเตอร์รัพท์ด้วยการส่งสัญญาณ InterruptAcknowledge กลับไปยังวงจรภายนอก
- เซ็ตซีพียูให้อยู่ในสภาวะ Disable Interrupt (DI) เพื่อป้องกันการอินเตอร์รัพท์ซ้อน
- หยุดการทำงานในโปรแกรมหลัก
- วงจรภายนอกส่งอินเตอร์รัพท์เวกเตอร์มาให้ซีพียูเพื่อบอกตําแหน่งที่จะให้ซีพียูกระโดดไป
- ซีพียูส่งค่าในรีจิสเตอร์ PC และรีจิสเตอร์ทั่วไป ไปเก็บไว้ในสแต็ก
- ไปทำงานในโปรแกรมย่อยเพื่อบริการอุปกรณ์ที่ส่งอินเตอร์รัพท์เข้ามาจนเสร็จ
- รับค่าที่ไปเก็บไว้ในสแต็กคืนสู่รีจิสเตอร์ PC และ รีจิสเตอร์ทั่วไปตามเดิม
- เซ็ตซีพียูให้กลับสู่สภาวะ Enable Interrut (EI)
- ทำงานในโปรแกรมหลักที่ค้างอยู่ต่อไป
ตำแหน่งของโปรแกรมย่อยในการอินเตอร์รัพท์
การที่ซีพียูจะรู้ได้ว่าโปรแกรมย่อยจากการอินเตอร์รัพท์มีตำแหน่งอยู่ที่ใดในหน่วยความจำนั้น ส่วนแรกขึ้นอยู่กับชนิดของไมโครโปรเซสเซอร์ นั้นๆ ผู้ผลิตไมโครโปรเซสเซอร์แต่ละชนิดหรือแต่ละรายก็จะมีการกำหนดลักษณะการอ้างถึงตำแหน่งแตกต่างกันออกไป โดยอาจจ ะกำหนดดังนี้
- ผู้ผลิตจะกำหนดไว้ว่าโปรแกรมย่อยของการอินเตอร์รัพท์จะต้องเก็บไว้ที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งตลอดทั้งโปรแกรม
- เขียนเป็นเพียงคำสั่งกระโดดเพียงคำสั่งเดียวเพื่อกระโดดไปยังตำแหน่งอื่นที่เก็บโปรแกรมย่อยไว้
- ต่อชิ้นส่วนฮาร์ดแวร์เพื่อชี้ตำแหน่งที่เก็บโปรแกรมย่อยการอินเตอร์รัพท์ในหน่วยความจำซึ่งอาจเก็บไว้ที่ใดก็ได้
วิธีที่สองเป็นที่นิยมใช้ทั้งนี้เพราะการใช้วิธีนี้จะทำให้สามารถกำหนดช่วงของตำแหน่งได้กว้างกว่า ในขณะที่วิธีสุด<>ท้ายเป็นวิธีที่เร็วกว่า แต่เป็นการสิ้นเปลืองฮาร์ดแวร์
การอินเตอร์รัพท์จากหลายอุปกรณ์
ในซีพียูจะมีขาที่ใช้รับสัญญาณอินเตอร์รัพท์เพียงขาเดียว ดังนั้นในกรณีที่มีอุปกรณ์หลายอุปกรณ์ร้องขอการอินเตอร์รัพท์เข้ามา ทุกๆอุปกรณ์ก็จะ ต้องป้อนสัญญาณอินเตอร์รัพท์ให้แก่ซีพียูที่ขาเดียวกันนี้ จึงมีปัญหาเกิดขึ้นคือ เมื่อมีสัญญาณอินเตอร์รัพท์เกิดขึ้น ซีพียูจะจำแนกได้อย่างไรว่า<>สัญญาณที่เข้ามานั้นมาจากอุปกรณ์ตัวใด วิธีการจำแนกสามารถทำได้หลายวิธี แต่แบ่งวิธีที่สำคัญออกเป็น 2 วิธี คือ วิธีซอฟท์แวร์ เรียกว่า ก ารโพล (Polling) และวิธีฮาร์ดแวร์ซึ่งต้องต้องต่อชิ้นส่วนอิเลกทรอนิกส์เข้าช่วย
- การโพล หมายถึงการที่ซีพียูจะตรวจสอบการแฟล็กการขออินเตอร์รัพท์ของหน่วยรับส่งข้อมุลเข้าออกที่ต่อกับอุปกรณ์แต่ละตัวตามลำดับเพื่อหา ว่าสัญญาณนั้นส่งมาจากอุปกรณ์ใด เมื่อตรวจพบแล้วก็จะทำตามขั้นตอนของอินเตอร์รัพท์ต่อ คือป้อนค่าจากรีจิสเตอร์ต่างๆภายในซีพียูไปเก็บไว้ที่สแต็ก จากนั้นไปทำงานตามโปรแกรมย่อยเพื่อให้บริการแก่อุปกรณ์ที่ขออินเตอร์รัพท์เข้ามา เมื่อจบแล้วก็จะป้อนค่าต่างๆจากสแต็กกลับ สู่รีจิสเต อร์ตามเดิม และกลับไปทำงานของโปรแกรมหลักที่ค้างไว้ การโพลจะช่วยค้นหาอุปกรณ์ที่ส่งสัญญาณอินเตอร์รัพท์และในขณะเดียวกันก็จะจัดลำด ับความสำคัญก่อนหลัง (Priority) ของอินเตอร์รัพท์จากอุปกรณ์ต่างๆที่ร้องขอมา เพื่อในกรณีที่ทีการอินเตอร์รัพท์เข้ามาพร้อมๆกัน
- วิธีฮาร์ดแวร์ วิธีฮาร์ดแวร์จะมีวงจรอิเลิกทรอนิกส์เพิ่มเติมเพื่อช่วยค้นหาว่าสัญญาณอินเตอร์รัพท์ถูกส่งมาจากอุปกรณ์ไหน เทื่อซีพียูได้รับสัญญาณอินเตอร์รัพท์ ( INT) ก็จะส่งสัญญาณตอบสนองอินเตอร์รัพท์ (INTA = Interrupt Acknowledge) ผ่านกลับไปให้แต่ละอุปกรณ์เพื่อตรวจสอบว่าอุปกรณ์ใดเป็นผู้ส่งสัญญาณอินเตอร์รัพท์ม า เมื่อตรวจพบแล้วอุปกรณ์นั้นก็จะส่งตำแหน่งที่เก็บโปรแกรมย่อยของการอินเตอร์รัพท์นั้นให้แก่ซีพียู สัญญาณตอบสนองที่ซีพียูส่งออกไปนั้นจะอ่านอุปกรณ์ที่ละตัวตามลำดับก่อนหลังที่ได้กำหนดไว้ จนกว่าจะจะพบว่าอุปกรณ์ใดเป็นผู้ส่งสัญญาณอินเตอร์รัพท์มา วงจรอิเลกทรอนิกส์ที่จะนำมาต่อเพิ่มเติมนั้นจะเป็นไอซีเฉพาะกิจที่บริษัทผู้ผลิตไมโครโปรเซสเซอร์ผลิตอ อกมาจำหน่ายด้วย
บทสรุป
จากการที่คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่สามารถทํางานได้รวดเร็วมากกว่ามนุษย์นัก จึงสามารถทํางานพร้อมกันได้หลายๆอย่างทั้งที่สามารถมองเห็นไ ด้ชัดเจน และที่มองไม่เห็นดังนั้นหากไม่มีการจัดการการอินเตอร์รัพท์ให้ดีแล้ว ประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์ก็ย่อมที่จะลดลงกว่าที่ควร จะเป็นหรืออาจก่อให้เกิดผลเสียต่างได้ ซึ่งถึงแม้บางอย่างอาจจะไม่มากจนเราสังเกตเห็นได้ แต่เพียงเล็กน้อยหากสะสมไปเรื่อยๆ ก็ย่อมจะกลายเป็นมากได้เช่นกัน
_____________________________________________________
6.เครื่องวัดความเร็วลมของช่องแอร์
_____________________________________________________
7.ประโยชน์ของเครื่องวัดความเร็วลม
ในช่วงฤดูร้อน ปัญหาที่มีมารบกวนใจเจ้าหน้าที่ฝ่ายช่างของอาคารต่างๆมากที่สุดคือ การได้รับโทรศัพท์แจ้งว่าแอร์ไม่เย็น “ฮัลโหล ฝ่ายช่างใช่ไหมค่ะ ตอนนี้แอร์ไม่เย็นเลย ห้องทำงานท่านประธานฯร้อนจะแย่อยู่แล้ว ช่วยขึ้นมาดูเดี๋ยวนี้ได้ไหม” เสียงตามสายแจ้งแอร์ไม่เย็นมักจะมีอารมณ์ไม่เย็นแฝงมาด้วย เพราะอากาศรอบๆตัวก็ไม่เย็น แถมยังโดนเจ้านายอารมณ์เสียใส่อีกต่างหาก
เมื่อได้รับแจ้งปัญหาแอร์ไม่เย็น สิ่งที่ช่างเกือบทุกคนดูเป็นสิ่งแรกคือ เทอร์โมสตัทตั้งไว้ถูกต้องหรือไม่ ถ้าตั้งไว้สูงเกินไป ก็ปรับลดลงมาก็เป็นอันหมดปัญหา แต่ส่วนใหญ่แล้วจะไม่โชคดีอย่างนั้น เพราะเทอร์โมสตัทมักจะตั้งไว้ถูกต้องอยู่ที่ 23-24 องศาเซลเซียส (หรือต่ำกว่า) แต่อุณหภูมิในห้องก็ยังสูง 29-30 องศาเซลเซียสอยู่ มาถึงตอนนี้ ช่างเกือบร้อยทั้งร้อย ก็จะตั้งเทอร์โมสตัทต่ำลงไปอีก บางทีก็บิดกันจนสุด โดยมีความหวังเล็กๆน้อยๆว่ามันจะช่วยให้เย็นขึ้นบ้าง แต่ส่วนใหญ่แล้วมันจะไม่ช่วยอะไร เพราะถ้าเครื่องแอร์ปรกติดีอยู่ก็จะต้องทำความเย็นตามที่ตั้งไว้เดิมได้อยู่แล้ว ไม่ต้องมาตั้งกันลงไปอีก
ถ้าท่านเคยพบปัญหาลักษณะนี้ บทความนี้อาจช่วยท่านได้ ในการตรวจสอบไปทีละขั้นทีละตอน เพื่อให้รู้แน่ว่าปัญหาแอร์ไม่เย็นเกิดจากอะไรกันแน่ แล้วจะได้แก้ปัญหาได้ถูกจุด เหมือนกับเกาได้ถูกที่คัน
การแก้ปัญหาแอร์ไม่เย็น
- ตรวจสอบอุณหภูมิลมจ่าย
- ตรวจสอบปริมาณลมจ่าย
เมื่อพบปัญหาแอร์ไม่เย็นให้เริ่มตรวจสอบดังนี้
1. ตรวจสอบอุณหภูมิลมจ่าย
การตรวจสอบอุณหภูมิลมจ่ายทำโดยใช้เทอร์โมมิเตอร์ ถ้าจะให้ดีควรเป็นแบบดิจิตอล ซึ่งจะวัดได้แม่นยำและรวดเร็วกว่า ทำการวัดโดยวัดให้ใกล้กับหน้ากากจ่ายลมเย็นให้มากที่สุด ถ้าจะให้ดีควรยื่นเข้าไปวัดในหน้ากากจ่ายลมเลย แต่ต้องระวังไม่ให้หัววัดสัมผัสกับหน้ากาก
(1.1) ถ้าวัดได้ 10 – 15oC ถือว่าปกติ
(1.2) ถ้าวัดได้สูงกว่า 15oC ถือว่าสูงผิดปกติให้ตรวจสอบดังนี้
1.2.1 ทั่วไป
· ตรวจสอบว่ามี Fresh Air เข้ามามากเกินไปหรือไม่
· ตรวจสอบว่าท่อลมกลับรั่วและดูดลมร้อนเข้ามาหรือไม่
· ตรวจสอบว่าในช่องฝ้า หรือในจั่วมีรอยรั่วให้ลมร้อนเข้ามาได้หรือไม่ ในกรณีดูดลมกลับเหนือฝ้า
1.2.2 แอร์แบบ Split Type
· ตรวจสอบว่าน้ำยาหมดหรือไม่
· ตรวจสอบว่าคอยล์เย็นและคอยล์ร้อนสกปรกหรือไม่
· ตรวจสอบว่ามีสิ่งกีดขวางทางระบายลมร้อนหรือไม่
· ตรวจสอบว่าลมร้อนถูกดูดย้อนกลับหรือไม่
1.2.3 แอร์แบบน้ำเย็น
· ตรวจสอบอัตราไหลน้ำเย็นว่าตรงตามข้อกำหนดหรือไม่ (ปกติจะต้องการ 2.4 GPM / ตัน)
· ตรวจสอบอุณหภูมิน้ำเข้าเครื่องว่าสูงกว่าข้อกำหนดหรือไม่ (ปกติจะมีค่า 45 oF)
· ตรวจสอบว่าคอยล์สกปรกหรือไม่
หากตรวจสอบตามรายการด้านบนแล้วไม่พบสิ่งผิดปกติ ก็อาจเป็นไปได้ว่าเครื่องแอร์มีขนาดทำความเย็นไม่เพียงพอ หรือเครื่องแอร์มีขนาดเล็กเกินไปนั่นเอง ทั้งนี้ขอให้ตรวจสอบปริมาณลมจ่ายในข้อถัดไป และแก้ไขให้มีลมจ่ายมากขึ้น ก็อาจจะทำให้ห้องเย็นขึ้นได้หากเครื่องแอร์มีขนาดเล็กเกินไปไม่มากนัก
2 ตรวจสอบปริมาณลมจ่าย
การวัดปริมาณลมจ่ายทำโดยวัดความเร็วลมแล้วนำไปคูณกับพื้นที่ของหน้ากากจ่ายลม เครื่องวัดความเร็วลมมีหลายแบบแต่ส่วนใหญ่จะใช้เครื่องแบบใบพัด ซึ่งมีความแม่นยำและราคาไม่แพง สำหรับหน้ากากลมขนาดใหญ่ควรวัดความเร็วลมหลายๆ จุด แล้วนำค่ามาเฉลี่ยกัน สำหรับหัวจ่ายลมติดเพดานจะสะดวกกว่าถ้าทำกรวยไปครอบแล้วต่อคอลงมาถึงระดับที่วัดได้ง่าย
ปริมาณลม (CFM) = ความเร็วลม (FPM) x พื้นที่ (FT2)
(2.1) ตรวจสอบว่าปริมาณลมว่าน้อยกว่าที่กำหนดในแบบหรือข้อกำหนดหรือไม่ ถ้าไม่มีแบบหรือข้อกำหนดให้พิจารณาดังนี้
2.1.1 ห้องทั่วไป
ควรมีปริมาณลมจ่าย 15 ถึง 30 CFM/m2
2.1.2 ห้องติดริมกระจก
ควรมีปริมาณลมจ่าย 30 ถึง 40 CFM/m2
(2.2) เมื่อพบว่าปริมาณลมจ่ายน้อยเกินไปให้ตรวจสอบดังนี้
· ตรวจสอบว่าแผงกรองอากาศอุดตันหรือไม่
· ตรวจสอบว่าความเร็วรอบของพัดลมต่ำกว่าข้อกำหนดหรือไม่ หรือตรวจสอบว่าสายพานสลิปหรือไม่
· ตรวจสอบว่าลมไปออกห้องอื่นๆ มากเกินไปหรือไม่
· ตรวจสอบว่ามีท่อลมรั่วตามตะเข็บรอยต่อหรือไม่
· ตรวจสอบว่าท่อลมอ่อนฉีกขาดหรือไม่
· ตรวจสอบว่ามีลมรั่วที่รอยต่อระหว่างคอหัวจ่ายกับท่อลมหรือไม่
โดยทั่วไปแล้วปัญหาแอร์ไม่เย็นมากกว่า 90% จะเกิดจากปัญหาอุณหภูมิลมจ่ายสูงเกิน หรือปริมาณลมจ่ายน้อยเกินไป หรือเกิดจากทั้งสองอย่างพร้อมกัน ดังนั้น เมื่อทำการตรวจสอบตามรายการข้างต้นแล้ว ก็น่าจะพบสาเหตุของปัญหา และสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้องต่อไป
_____________________________________________________
8.อุปกรณ์
1.control board 2.port-MCS-51 3.LCD
4.power supply 5.switch 6.ใบพัด
1.control board
2.port-MCS-51
3.LCD
4.power supply
5.switch
6.ใบพัด
_____________________________________________________